ดวงประทีปแห่งความรุ่งโรจน์ของมูลนิธิฯ ตามลำดับแห่งกาลเวลา
 

ศ. ดร. ก่อ สวัสดิพาณิชย์  ประธานกรรมการอำนวยการ คนแรก (พ.ศ. 2525 - 2536)
 

เกิดวันที่  1  มกราคม  พ.ศ.2465   จ.ร้อยเอ็ด
ที่อยู่
15/49  ซอยวงศ์สว่าง  ถ.กรุงเทพฯ-นนทบุรี  แขวงบางซื่อ  เขตบางซื่อ  กทม.10800

การศึกษา
พ.ศ.2475                          ชั้นประถมศึกษา  (ป.4)  จากโรงเรียนประชาบาล ประจำอำเภออาจสามารถ
จ.ร้อยเอ็ด
พ.ศ.2481                          ชั้นมัธยมบริบูรณ์  (ม.6)  จากโรงเรียนประจำจังหวัดร้อยเอ็ด “ร้อยเอ็ดวิทยาลัย”
พ.ศ.2483                          เตรียมอักษรศาสตร์ปีที่  2  จากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาแห่งจุฬาลงกรณ์-
มหาวิทยาลัย
พ.ศ.2487                          ปริญญาตรี  อักษรศาสตร์บัณฑิต  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  (อ.บ.จุฬาลงกรณ์-
มหาวิทยาลัย)
พ.ศ.2491                          พ.ม.  (ประกาศนียบัตรครูพิเศษมัธยม)
พ.ศ.2493                          ปริญญาโททางการศึกษา (ประถมศึกษา)  จาก  Oklahoma   Agricultural   and
Mechanical   College   (M.S. Education)
พ.ศ.2495                          ปริญญาเอกทางการศึกษา (ประถมศึกษา)  จาก University  of  California  จาก
สหรัฐอเมริกา ( Ed.D.U.  of  California)
พ.ศ.2508                          วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร (ว.ป.อ. รุ่นที่ 8)

การทำงาน/รับราชการ
พ.ศ.2487-2496                 ดำรงตำแหน่งครู  กรมสามัญศึกษา
พ.ศ.2497-2499                 ดำรงตำแหน่งหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  กรมการฝึกหัดครู
พ.ศ.2500-2504                 ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองโรงเรียนฝึกหัดครู  กรมการฝึกหัดครู
พ.ศ.2505-2510                 ดำรงตำแหน่งศึกษานิเทศก์พิเศษ  และหัวหน้าหน่วยศึกษานิเทศก์  กรมการ
                                         ฝึกหัดครู  และรักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการกองงานแผนการศึกษา
                                         สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
ระหว่าง
พ.ศ.2509-2511                 ได้รับมอบหมายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของประเทศต่างๆ
                                         ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้   ให้ดำรงตำแหน่ง  Director   ของ   SEAMES อีกตำแหน่งหนึ่ง
พ.ศ.2511-2515                 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมวิสามัญศึกษา
พ.ศ.2515-2517                 ดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสามัญศึกษา
30 พฤษภาคม 2517            ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

21 กุมภาพันธ์ 2518- 21 มีนาคม 2518  ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
21 พฤศจิกายน 2520          ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
24 พฤษภาคม 2522- 11 กุมภาพันธ์ 2523 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ.2525-2529                 กรรมการบริหารของยูเนสโก
พ.ศ.2524-2534                 รองประธานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ
6 มีนาคม 2534- 2536        ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ

อาจารย์พิเศษ           

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  บัณฑิตวิทยาลัย  (สาขาหลักสูตรและการสอน)
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร บัณฑิตวิทยาลัย (สาขาพัฒนศึกษา)

ผลงาน        (ตำรา-บทความ)

1.เขียนแบบเรียนต่างๆ  เช่น
-แบบเรียนชุดสุขศึกษาชั้นประถมศึกษา  กระทรวงศึกษาธิการ
-แบบเรียนชุดเสริมประสบการณ์ภาษาไทย  ชั้นประถมปีที่ 1 เรื่อง “เราช่วยกัน”
และ “เราขยันเรียน”
-แบบเรียนชุดเสริมประสบการณ์สังคมศึกษา  ชั้นประถมปีที่ 1

2.แต่งตำราและคู่มือครูต่างๆ เช่น
-วิธีสอนอ่านในชั้นประถมศึกษา
-วิธีสอนสังคมศึกษาในชั้นประถมศึกษา
-จิตวิทยากับการเรียนการสอน
-จิตวิทยาการศึกษา
-การสร้างประสิทธิภาพในการเรียน
-ความสัมพันธ์ในครอบครัว
-ปัญหาสังคมไทย
-วัยรุ่นและการปรับปรุงบุคลิกภาพ
-ทำเพื่อลูกเพื่อหลาน
ฯลฯ

3.เขียนบทความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาลงในวารสารต่างๆ  เช่น
มิตรครู  วิทยาจารย์  ประชาศึกษา  ศูนย์ศึกษา  จันทรเกษม  ศึกษาศาสตร์ การศึกษาเอกชน สภาการศึกษาแห่งชาติ วิทยาสาร คุรุปริทัศน์ ครูเชียงใหม่  ดวงประทีป  ฟ้าเมืองไทย ฯลฯ  ตลอดจนสารคดีบันเทิงในหนังสือต่วยตูน

4.งานแปล เช่น Philip Coombs The World Crilil in Education              

เครื่องราชอิสริยาภรณ์
ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตามลำดับ ดังนี้

เบญจมาภรณ์มงกุฎไทย (บ.ม.) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2496
จัตุรถาภรณ์ช้างเผือก    (จ.ช.) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2497
ตริตาภรณ์มงกุฎไทย     (ต.ม.) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2504
ตริตาภรณ์ช้างเผือก      (ต.ช.) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2508
ทวิติยาภรณ์มงกุฎไทย   (ท.ม.) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2510
ทวิติยาภรณ์ช้างเผือก    (ท.ช.) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2512
เหรียญจักรพรรดิมาลา   (ร.จ.พ.)  เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2512
ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.) เมื่อวันที่  5  ธันวาคม  2514
ทุติยจุลจอมเกล้า      (ท.จ.) เมื่อวันที่  5  พฤษภาคม  2516
ประถมาภรณ์ช้างเผือก   (ป.ช.) เมื่อวันที่  5  พฤษภาคม  2517
มหาวชิรมงกุฎไทย        (ม.ว.ม.) เมื่อวันที่  5  พฤษภาคม  2520
มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.) เมื่อวันที่  5  พฤษภาคม  2521
ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ   (ท.จ.ว.) เมื่อวันที่  5  พฤษภาคม  2527

ปริญญาฯ บัณฑิตกิตติมศักดิ์
พ.ศ. 2524                         ได้รับพระราชทานปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาศึกษาศาสตร์
(มหาวิทยาลัยรามคำแหง)
พ.ศ. 2526                         ได้รับพระราชทานปริญญาครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
(จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)
พ.ศ. 2529                         ได้รับพระราชทานปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์  สาขาการบริหาร
การศึกษา (มศว.ประสานมิตร)
พ.ศ. 2530                         ได้รับรางวัลนักการศึกษาดีเด่นประจำปี 2530  วันนักการศึกษา จากคณะกรรมการ
4  สถาบัน (ศิษย์เก่า มศว. โครงการสารานุกรม สกศ. สมาคมเกียรตินิยม)
ม.ค. 2530                         ได้รับรางวัลบุคคลดีเด่นระดับชาติ  สาขาพัฒนาสังคม  (ด้านการศึกษา)  จากคณะ
กรรมการเอกลักษณ์ของชาติ  ประจำปีพุทธศักราช  2532
ม.ค. 2534                         ได้รับปริญญาศึกษาศาสตร์ดุษฏีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

อาลัย ศ. ดร.ก่อ  สวัสดิ์พาณิชย์
ประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิ “ร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ”
พ.ศ.2525 – 2536

      ข้าพเจ้าได้รู้จักกับ   ศ.ดร.ก่อ    สวัสดิ์พาณิชย์     เมื่อเข้ามาอยู่ในมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ เพื่อเยาวชน  ในพระบรมราชินูปถัมภ์แล้ว  ก่อนหน้านี้ก็เพียงแต่ได้ยินชื่อเสียง เกียรติคุณของท่าน
สำหรับงานของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ ดร.ก่อฯ เป็นกำลังสำคัญ เป็นหลักช่วยเหลืองาน และให้คำแนะนำที่มีค่ายิ่งแก่มูลนิธิฯ ตลอดมา  ตั้งแต่เริ่มก่อตั้ง กับทั้งเป็นผู้มีอัธยาศัยดี มีจิตเมตตาให้ความเป็นกันเองแก่ทุกคน  และไม่ว่ามูลนิธิฯ จะมีกิจกรรมใดๆ ทั้งงานประชุม งานหาทุน งานมอบทุน งานเลี้ยงขอบคุณ หรืองานเลี้ยงสังสรรค์ในหมู่กรรมการวาระต่างๆ จะต้องมี ดร.ก่อฯ เกือบทุกครั้ง แม้ว่าบางครั้ง   ท่านจะติดงานราชการต้องเดินทางไปต่างจังหวัดบ้าง    ก็ยังสละเวลามาร่วมงานของมูลนิธิฯก่อน  นับได้ว่า ดร.ก่อฯ มีความผูกพันกับคณะกรรมการมูลนิธิฯ เป็นอย่างมาก
ข้าพเจ้า รวมทั้งคณะกรรมการมูลนิธิฯ จึงรู้สึกเสียดาย และอาลัยในการจากไปอย่างกะทันหันของ ดร.ก่อฯ เป็นอย่างยิ่ง  แต่มั่นใจว่า คุณงามความดี และผลงานที่ท่านได้สร้างสรรค์ไว้เป็นอเนกอนันต์แก่ประเทศชาติ  และมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ  จะยังคงจารึกอยู่ตลอดไปชั่วกาลนาน


พระวรวงศ์เธอ  พระองค์เจ้าสุทธสิริโสภา
(ประธานคณะกรรมการดำเนินงานมูลนิธิฯ)
มีนาคม 2536

 

ศจ.ดร.ก่อ  สวัสดิ์พาณิชย์ กับ
มูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ  เพื่อเยาวชนฯ

        ศจ.ดร.ก่อ   สวัสดิ์พาณิชย์   เป็นประธานกรรมการอำนวยการคนแรกของมูลนิธิร่วมจิตต์น้อมเกล้าฯ  เพื่อเยาวชน   ในพระบรมราชินูปถัมภ์  ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งมูลนิธิฯ พ.ศ.2525  โดยได้รับคำเชิญจาก   หม่อมงามจิตต์   บุรฉัตร    ผู้ประสานการก่อตั้ง    และประธานคณะกรรมการดำเนินงานคนแรก ศจ.ดร.ก่อฯ  ได้รับเลือกจากที่ประชุมให้ดำรงตำแหน่งต่อเนื่องทุกครั้งที่ครบวาระจวบจนสิ้นชีวิต รวมระยะเวลาเกือบ  11  ปีเต็ม
ศจ.ดร.ก่อฯ ให้ความสนใจ ห่วงใยงานของมูลนิธิฯ ยิ่งนัก ท่านได้ช่วยเหลือเกื้อกูล และเป็นหลักเพื่องานของมูลนิธิฯ ตลอดเวลา  มิใช่เพียงรับตำแหน่งเพื่อเป็นเกียรติเท่านั้น หากให้ความสำคัญแก่งานหรือกิจกรรมใดๆ ของมูลนิธิฯ  โดยเข้าร่วมประชุมมิได้ขาด แม้ระหว่างที่ท่านได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐบาลถึง  2  สมัย  ในพ.ศ. 2534 - 2535  ก็ยังให้ความสนใจติดตามงาน และทำงานให้มูลนิธิฯ เหมือนเช่นเดิมทุกประการ
ศจ.ดร.ก่อ    สวัสดิ์พาณิชย์   เป็นผู้ใหญ่ใจกว้างที่เปี่ยมด้วยเมตตา  ท่านยินดีให้กรรมการมูลนิธิฯ  และเจ้าหน้าที่เข้าพบหรือใช้โทรศัพท์ปรึกษางานหรือขอคำแนะนำได้ตลอดเวลา   ไม่ว่าจะเป็นยามค่ำคืน  หรือเช้าตรู่เพียงใดก็ตาม   ทั้งนี้เพื่อให้งานของมูลนิธิฯ  สามารถดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วทันต่อเหตุการณ์
นอกจากนี้ ศจ.ดร.ก่อฯ ได้มีส่วนริเริ่ม  สนับสนุน และช่วยดำเนินการหาทุนให้มูลนิธิฯ ด้วยตนเอง  หลายครั้งหลายคราว กล่าวคือ

1. ปี 2528  เชิญชวนให้ศึกษาธิการจังหวัดทุกจังหวัดเผยแพร่ บอกบุญประชาชนในจังหวัดต่างๆ ได้เป็นเจ้าของเหรียญ 9 รัชกาล  ทำให้มูลนิธิฯ มีรายได้ประมาณ  5.2  แสนบาท

2. ปี 2528  เชิญชวนสถานศึกษาต่างๆ ได้เป็นเจ้าของหนังสือพระพุทธศาสนสุภาษิตคำโคลงมูลนิธิฯ  มีรายได้ประมาณ  2.1  แสนบาท

3. ปี 2528  เชิญชวนสถานศึกษาต่างๆ แนะนำให้เยาวชนซื้อรูปลอกและบัตรอวยพรวันแห่งความรัก  มีรายได้ประมาณ  4.8  แสนบาท

4. ปี 2529  เชิญชวนบุคคลต่างๆ ในทุกจังหวัดได้ซื้อหนังสือภาพ “ งามจิตต์ ”  มูลนิธิฯ มีรายได้ประมาณ  2  แสนบาท

5. ปี 2530 บริจาคเงิน  10,000  บาท ให้มูลนิธิฯ จัดพิมพ์หนังสือ “ การสร้างประสิทธิภาพในการเรียน ”  ออกจำหน่ายจำนวน  1,000  เล่ม ๆ ละ  10  บาท

6. ปี 2531 ให้คำแนะนำปรึกษา และเชิญชวนสถานศึกษาต่างๆ ซื้อรูปลอกชุดวัฒนธรรมไทย รายได้ประมาณ  1.3  ล้านบาท

7. ปี 2532 เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการจัดทอดผ้าป่าทุนการศึกษาสำหรับสามเณรทั่วประเทศที่วัดไร่ขิง  จังหวัดนครปฐม  
ได้เงินทั้งสิ้นประมาณ  2  ล้านบาท   โดย ศจ.ดร.ก่อฯ   ได้เดินทางไปติดต่อประสานงานด้วยตนเองหลายครั้ง

8. ได้บริจาคเงินส่วนตัว  ตั้งกองทุนถาวรไว้ในมูลนิธิฯ  รวมทั้งเชิญชวนญาติมิตร  ลูกหลาน บริจาคเงินให้มูลนิธิฯ  เป็นประจำทุกปี   นอกจากนี้ผู้ที่เคารพนับถือ   ศจ.ดร. ก่อฯ   ก็ได้บริจาคเงินผ่าน

เธ—เธธเธ•เธดเธขเธ